3 วิธีการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประหยัดภาษีแบบถูกกฎหมาย

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ทุกคนสามารถ ‘วางแผนประหยัดภาษี’ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและนำเงินไปต่อยอดในเป้าหมายที่ต้องการได้ แต่จะเริ่มต้นบริหารจัดการและวางแผนภาษีอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและถูกกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลธรรมดาและมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีเวลาในการวางแผนภาษีมากนัก วันนี้ผู้เชี่ยวชาญรับปรึกษาการวางแผนภาษีจาก Money Adwise มีเทคนิคการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฝากกัน

 

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบภาษีของไทย

การวางแผนภาษี คือ การเตรียมตัวที่จะเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งจะรวมไปถึงการรับสิทธิประโยชน์เพื่อนำมาลดหย่อนภาษี ตลอดจนการวางแผนคำนวณ ‘ค่าใช้จ่าย’ และ ‘เงินได้’ เพื่อลดภาระภาษีอย่างถูกกฎหมาย ไม่เสี่ยงต่อการโดนเบี้ยปรับ หรือ โดนคิดภาษีย้อนหลัง อีกทั้งยังสามารถช่วยให้มีเงินเหลือเพื่อไปต่อยอดในเป้าหมายที่ต้องการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อ หรือ จะฝากเป็นเงินเก็บในธนาคารก็ตาม

 

ระบบการเสียภาษีเบื้องต้นของไทย

โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาของเมืองไทยจะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ ผู้เสียภาษี ฐานภาษี และอัตราภาษี ซึ่งแต่ละปัจจัยจะมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ผู้เสียภาษีหมายถึง ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษี ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก คือ
    • ผู้เสียภาษีเงินได้ สำหรับผู้มีเงินได้
    • ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการ
  2. ฐานภาษีหมายถึง ตัวกำหนดว่าผู้เสียภาษีต้องคำนวณภาษีจากอะไร
    • ผู้เสียภาษีเงินได้ คำนวณฐานภาษีจาก ‘รายได้’
    • ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณฐานภาษีจาก ‘ราคาสินค้าและบริการ’
  3. อัตราภาษีหมายถึง จำนวนภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสีย โดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสำหรับเมืองไทยจะมีการคำนวณภาษีใน ‘อัตราก้าวหน้า’ หรือ ‘อัตราภาษีแบบขั้นบันได’

 

 

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้นอัตราภาษี
(%)
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0 - 150,000150,0005ยกเว้น*0
เกิน 150,000 - 300,000150,00057,5007,500
เกิน 300,000 - 500,000200,0001020,00027,500
เกิน 500,000 - 750,000250,0001537,50065,000
เกิน 750,000 - 1,000,000250,0002050,000115,000
เกิน 1,000,000 - 2,000,0001,000,00025250,000365,000
เกิน 2,000,000 - 5,000,0003,000,00030900,0001,265,000
เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป 35  

อ้างอิงข้อมูลจากกรมสรรพากร

 

2. การวางแผนประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องดู ‘ค่าใช้จ่าย’ และ ‘ค่าลดหย่อนภาษี’

จากระบบการเสียภาษีของไทยเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า ‘เงินได้’ จะเป็นส่วนสำคัญที่กำหนด ‘ฐานภาษี’ และ ‘ขั้นอัตราการเสียภาษี’ ที่นำมาคำนวณ

อย่างไรก็ดี มนุษย์เงินเดือนหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องเสียภาษีครั้งแรกมักเข้าใจว่า ภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีเป็นการนำรายได้ทั้งหมดมารวมกัน จากนั้นจึงคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดตามขั้นเงินได้ ซึ่งบางคนอาจรู้สึกตกใจที่คำนวณภาษีที่ต้องเสียได้สูงถึงหลักแสน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘เงินได้สุทธิ’ ที่นำมาคำนวณภาษีนั้นจะมีการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีออกก่อน ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายจะสามารถคำนวณได้ตามสูตร ดังนี้

 

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยกำหนดให้ เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งหมด - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี

 

จากสูตรการคำนวณข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า ‘เงินได้สุทธิ’ นั้นส่งผลต่อ ‘อัตราภาษีที่นำมาคำนวณ’ และ ‘จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย’ ดังนั้น หากทำให้ ‘เงินได้สุทธิน้อยลง’ จากการหักลบ ‘ค่าใช้จ่าย’ และ ‘ค่าลดหย่อนภาษี’ ก็จะทำให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง ลองมาทำความเข้าใจถึง 3 องค์ประกอบหลักที่นำมาคำนวณภาษี ดังนี้

 

1. เงินได้ และ ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ค่าใช้จ่ายทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นต้นทุนในการสร้างรายได้ที่รัฐบาลยอมให้นำมาหักกับเงินได้ แต่จะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

อ้างอิงจากกรมสรรพากร พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 กำหนดให้แบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

 

ประเภทของเงินได้หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่
1. รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัสหักได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
หากมีเงินได้ทั้งประเภทที่ 1 และ 2 จะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน และหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
2. รายได้จากหน้าที่ หรือ ตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า งานพาร์ทไทม์ งานฟรีแลนซ์ที่มีการหัก 3% ณ ที่จ่าย
3. รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาหักได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือ จ่ายตามจริง
4. รายได้จากดอกผล ค่าตอบแทน เช่น ดอกเบี้ย กำไรจากการลงทุน* เงินปันผล เครดิตภาษีเงินปันผลหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
  • บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ
  • ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร
  • ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร
  • ยานพาหนะ
  • ทรัพย์สินอื่น
ตามจริงหรืออัตราเหมา
  • 30%
  • 20%
  • 15%
  • 30%
  • 10%
6. รายได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น
  • ประกอบโรคศิลป์
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี รวมถึงประณีตศิลปกรรม
หักตามจริงตามวิชาชีพ หรือ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
  • 60%
  • 30%
7. รายได้จากการรับเหมาพร้อมอุปกรณ์และสัมภาระหักตามจริงตามประเภทของทรัพย์สิน หรือ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%
7. รายได้จากการประกอบธุรกิจ หรือ นอกเหนือจากรายได้ประเภท 1 - 7หักตามจริงตามประเภทของทรัพย์สิน หรือ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40% หรือ 60%

อ้างอิงข้อมูลจากกรมสรรพากร

 

2. ค่าลดหย่อนภาษี

หลายคนอาจเข้าใจว่า การยิ่งหารายได้หลายช่องทาง ยิ่งทำให้มีโอกาสได้หักค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การยิ่งหารายได้หลายช่องทางก็เท่ากับการมีเงินได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายเมื่อนำมาคำนวณแล้วก็อาจเสียภาษีมากขึ้นได้เช่นกัน

ดังนั้น นอกจากค่าใช้จ่ายที่นำมาหักเงินได้แล้ว ‘ค่าลดหย่อนภาษี’ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาหักเงินได้และช่วยประหยัดภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน โดยค่าลดหย่อนภาษีจะประกอบไปด้วย 5 กลุ่มหลัก ดังนี้

 

ค่าลดหย่อนภาษีลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง?
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไข
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ในปีภาษีนั้น
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
    • สามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายกำหนด
    • ในกรณีบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  • กรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเอง ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 2 คน ต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม
  • กรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรส ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 2 คน ต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรมของคู่สมรส และคู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ต้องมีเอกสารรับรองและบัตรคนพิการ
2. ค่าลดหย่อนการออมและการลงทุน
**รวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท**
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) รวมไปถึงกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
3. ค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกัน
  • เบี้ยประกันสุขภาพหักค่าลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์ และเงินฝากแบบมีประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
  • เงินประกันสังคมลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10%
  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะและสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
5. ค่าลดหย่อนตามนโยบายรัฐบาลเช่น โครงการช้อปดีมีคืน ดอกเบี้ยบ้าน และโครงการบ้านหลังแรก

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร

 

 

3. รู้จักวิธีบริหารเงินได้ที่ถูกต้อง

รู้หรือไม่? หากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีแล้ว แต่เงินได้สุทธิยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ ทุกคนยังสามารถบริหารจัดการเงินได้ เพื่อวางแผนประหยัดภาษีได้เช่นกัน ซึ่งสำหรับบุคคลทั่วไปจะสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

 

1. แปลงประเภทเงินได้

การเปลี่ยนประเภทเงินได้จากประเภทที่ 1 และ 2 มาเป็นเงินได้ประเภท 3 5 6 7 และ 8 เพื่อปรับเป็นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา เช่น เปลี่ยนจากการทำงานเพื่อรับเงินเดือนมาเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ หรือ เปิดธุรกิจลูกภายใต้บริษัทที่เคยทำงานอยู่เดิม

 

2. แตกหน่วยภาษี

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เช่น นาย A ทำธุรกิจกับนาย B ซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งคู่ จากนั้นจัดตั้งเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลขึ้นมา เท่ากับว่า นาย A และ นาย B จะเสียภาษีกับเงินเดือนตัวเองเท่านั้น ส่วนรายได้จากธุรกิจจะเสียภาษีในนามคณะบุคคล

 

3. กระจายการรับเงิน

กระจายรับรายได้หลายงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งรับเงินหลายปีภาษี อาจทำให้มีการคำนวณเงินได้สุทธิน้อยลง ส่งผลให้มีการคิดอัตราภาษีที่น้อยลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของนายจ้างและลูกจ้าง

 

ทั้งหมดที่นำมาฝากนี้เป็นเพียงวิธีบริหารจัดการภาษีเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งการบริหารภาษีของบุคคลอาจมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่ต้องการวางแผนประหยัดภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อนำเงินไปต่อยอดได้ในด้านอื่น บริษัทให้คำปรึกษาการลดหย่อนภาษี Money Adwise มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญรับปรึกษาการวางแผนภาษีที่ถูกต้อง มั่นใจด้วยประสบการณ์มากกว่า 1,000+ เคส นัดปรึกษาครั้งแรกฟรี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้