รู้จักความแตกต่างของ 3 License สำคัญในการเป็น FA

ข้อดีของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

อาชีพ Financial Advisor (FA) หรือที่ปรึกษาทางการเงิน เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำทางให้ลูกค้าเดินหน้าไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจะเป็น FA และวางแผนการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ได้นั้น จะต้องมีใบอนุญาตหรือ License ตามที่หน่วยงานที่กำกับดูแลกำหนด แล้วใบอนุญาตที่สำคัญกับสายอาชีพนี้จะมีอะไรบ้าง License แต่ละประเภทมีความสำคัญและมีความแตกต่างกันอย่างไร ติดตามกันได้ในบทความนี้

ข้อดีของการทำงานในสายอาชีพ Financial Advisor

ก่อนจะไปรู้ว่า License ที่สำคัญกับสายอาชีพ FA แตกต่างกันอย่างไร เชื่อว่าผู้ที่กำลังตัดสินใจจะเริ่มต้นเส้นทางการเป็นนักวางแผนทางการเงินหลายคน อาจยังมีคำถามคาใจอยู่ว่าการทำงานในสายอาชีพ Financial Advisor (FA) มีข้อดีอย่างไร จะตอบโจทย์ชีวิตจริงไหม รวมถึงจะแตกต่างจากการเป็นพนักงานประจำหรือเจ้าของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจึงมีข้อดีของการเป็น FA มาแนะนำกัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มต้นเส้นทางอาชีพนี้อย่างจริงจัง

สร้างรายได้แบบไม่จำกัด

แน่นอนว่าเมื่อทุกคนลงแรงลงเวลาทำงาน ก็ย่อมอยากได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และหากคุณกำลังมองหาอาชีพที่สร้างรายได้แบบไม่มีเพดาน การเป็น FA คือคำตอบ เพราะหัวใจของอาชีพนี้เป็นการสะสมฐานลูกค้าและพอร์ตการลงทุนในระยะยาว ไม่มีการโยกย้าย หรือไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่เหมือนกับการเปลี่ยนงานอื่น ๆ ทำให้คุณทำเงินได้อย่างไร้ขีดจำกัด ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบของคุณแบบ 100%

มีอิสรภาพทางเวลา

เพราะเวลาคือสิ่งมีค่าและมีอยู่อย่างจำกัด สำหรับบางคน การทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการทำงานจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์ชีวิต ซึ่งการเป็น FA จะทำให้คุณมีอิสรภาพทางเวลา ไม่ต้องถูกบังคับจากหัวหน้าหรือเจ้านาย สามารถบริหารจัดการเวลาทำงาน และเวลาในการทำสิ่งที่ชอบหรืออยู่กับคนที่คุณรักได้อย่างลงตัว

ได้รับความรู้จากนักวางแผนการเงินประสบการณ์สูง

การทำงานในสายงาน FA จะต้องค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ก็คือการเรียนรู้จากนักวางแผนการเงินมากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน และในงานสัมมนาหรือคอร์สออนไลน์ นอกจากจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าแล้ว ยังทำให้คุณได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอด้วย

สร้าง Connection ใหม่ ๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่คุณจะได้จากการเป็น FA คือโอกาสในการสร้าง Connection ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะทั้งจากลูกค้าหรือพาร์ตเนอร์ในวงการการเงิน เพราะสายอาชีพนี้ คุณสามารถเลือกได้ว่าอยากทำงานกับใคร อยากดูแลลูกค้าแบบไหน ไม่มีเจ้านาย ไม่มีลูกน้อง มีแต่เพื่อนร่วมอาชีพเท่านั้น โดยคุณสามารถใช้ Connection ที่กว้างขวางช่วยต่อยอดเส้นทางอาชีพให้ก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานได้เป็นอย่างดี

ได้สร้างสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงให้คนรอบข้าง

ข้อดีข้อสุดท้ายของการเป็น FA คือความสุขและคุณค่าทางใจ เนื่องจากคุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการเงิน รวมถึงเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ลูกค้าและคนรอบข้าง แนะนำวิธีแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง สร้างโอกาสทางการเงินใหม่ ๆ ผ่านการวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้จากการเห็นพวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น

FA License แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นแบบอิสระหรืออยู่ภายใต้ทีมงานจากบริษัทชั้นนำ นี่คือ 3 ใบอนุญาตสำคัญที่คุณควรรู้จัก เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด และการันตีว่าคุณคือผู้มีความรู้ความสามารถที่ลูกค้าจะฝากอนาคตทางการเงินของพวกเขาเอาไว้ได้ ซึ่งแต่ละ License จะต่างกันอย่างไร มีความสำคัญด้านใดบ้าง ไปดูคำตอบกันได้เลย

Investment Consultant (IC)

เริ่มต้นกันที่ Investment Consultant หรือ IC License (ผู้แนะนำการลงทุน) ซึ่งถือเป็นใบอนุญาตที่สำคัญสำหรับนักวางแผนการเงินทีเดียว เพราะผู้ที่มีใบอนุญาตนี้ สามารถให้ข้อมูลการลงทุนและคำแนะนำการลงทุนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจลงทุนได้ แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  • IC Plain (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับตราสารทุน กองทุนรวม และตราสารหนี้ที่ไม่ซับซ้อนได้
  • IC Complex 1 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนรวมและตราสารหนี้ทั้งที่มีลักษณะซับซ้อนและไม่ซับซ้อน
  • IC Complex 2 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับตราสารทุน กองทุนรวมและตราสารหนี้ทั้งที่มีลักษณะซับซ้อนและไม่ซับซ้อน
  • IC Complex 3 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตราสารทุน กองทุนรวม และตราสารหนี้ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน

Investment Planner (IP)

และอีกหนึ่ง License ที่ที่ปรึกษาทางการเงินทุกคนต้องมี ก็คือใบอนุญาต Investment Planner หรือ IP License (ผู้วางแผนการลงทุน) เป็นใบอนุญาตที่ต่อยอดมาจาก IC License โดยหมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ ซึ่ง FA ที่มี IP License จะสามารถนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาวางแผนการเงินที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายหรือความสนใจ โดยธุรกรรมที่ผู้วางแผนการลงทุนสามารถทำได้ ได้แก่

  • การแนะนำการลงทุนในผลิตภัณฑ์การเงินที่มีความซับซ้อน, การลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง และการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  • การวางแผนการลงทุน หรือ Asset Allocation

CFP®

ปิดท้ายด้วยคุณวุฒิอาชีพนักวางแผนทางการเงินระดับสากลอย่าง CFP® หรือย่อมาจาก Certified Financial Planner ได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินทั่วโลก โดย CFP Board of Standard กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับคุณวุฒินี้เอาไว้ 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่

  • Education มีความรู้ตามหลักสูตรที่กำหนด
  • Examination ได้รับการทดสอบว่าสามารถนำความรู้มาให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
  • Experience มีประสบการณ์ในสายงานนี้อย่างเพียงพอ โดยขั้นต่ำกำหนดไว้ที่ 3 ปี
  • Ethics จรรยาบรรณในวิชาชีพ และความสามารถในการให้คำปรึกษาที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

หากได้รับคุณวุฒินี้ คุณจะสามารถให้คำปรึกษาและวางแผนด้านการเงินกับลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนออมเงินเพื่อการเกษียณ การวางแผนการลงทุน การวางแผนภาษีและมรดก การวางแผนประกันภัยและประกันชีวิต การวางแผนบริหารกระแสเงินสด และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายอื่น ๆ

 

ได้รู้แล้วว่า License สำหรับที่ปรึกษาทางการเงินต่างกันอย่างไร หากอยากเริ่มต้นเส้นทางอาชีพสาย Financial Advisor อย่างมั่นคงและต้องการสมัครงานที่ปรึกษาทางการเงิน  กับ Money Adwise ที่มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพสูง สร้างรายได้ได้แบบไม่จำกัด พร้อมเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากนักวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิ CFP® พร้อมช่วยให้คุณพัฒนาทักษะและสามารถสอบใบอนุญาตต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้สำเร็จ กรอกรายละเอียดและนัดเวลาพูดคุยกับเราได้ที่ https://www.moneyadwise.com/form/26/join-us

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. รู้จัก CFP. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 จาก https://weblink.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Article_Pro_001.pdf
  2. ผู้แนะนำการลงทุน (Investment Consultant). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 จาก https://www.set.or.th/th/education-research/education/professional/investment-consultant
  3. อยากได้ใบอนุญาต IP LICENSE หรือ INVESTMENT PLANNER ต้องทำยังไง. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 จาก https://www.thaipfa.co.th/news/view/139

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้