จัดพอร์ตการลงทุนในเทรนด์ Aging Society ต้องรู้อะไรบ้าง

จัดพอร์ตการลงทุนในยุค Aging Society อย่างไร

ผู้เขียน จิณณรักษ์ เจตน์รังสรรค์ CFP®

หากพูดถึงเทรนด์การลงทุน หรือ Mega Trends แล้ว แน่นอนว่า นอกจากเทรนด์การลงทุนในขาของความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมแล้ว สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การลงทุนที่น่าจับตามองและต้องกังวลไปพร้อมกัน เพราะถึงจะสามารถพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุได้ แต่การมีผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นกลับสวนทางกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลง ก็ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่การลงทุน ดังนั้น หากใครอยากจัดพอร์ตการลงทุนในเทรนด์ Aging Society นี้ ลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนใดรวมถึงในทิศทางไหนบ้าง

1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สังคมผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพและความต้องการผู้สูงอายุใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหลากหลายแง่มุมอีกด้วย ซึ่งจากรายงานทั่วโลกพบว่า Wellness Real Estate เพื่อผู้สูงอายุมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 22% ต่อปี แม้ตลาดการลงทุนอสังหาริมทรัพย์จะติดลบถึง 2.5% 

โดย Wellness หรือ Health Real Estate นี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สถานพยาบาล หรือ หมู่บ้านจัดสรรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อสังหาริมทรัพย์อย่างโรงแรม ตลอดจนที่พักอาศัยอื่น ๆ เองก็ได้รับผลกระทบทางบวกจากผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย 

นอกจากนี้ Developer ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ยังได้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในสไตล์ Multi Generation Living ที่รองรับความต้องการได้มากกว่า 3 เจนเนอร์เรชัน อีกทั้งยังมีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับผู้สูงอายุ ทั้งแบบที่อยู่กับครอบครัว อยู่คนเดียวเป็นโสด ตลอดจนเป็นผู้สูงอายุที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงมีโอกาสเติบโตต่อได้ในอนาคต และน่าจับตามองในการจัดพอร์ตการลงทุน

ข้อควรระวัง

แม้จะมีโอกาสในการเติบโตและพัฒนาได้สูง แต่อสังหาริมทรัพย์เพื่อสังคมผู้สูงอายุอาจไม่เติบโตได้อย่างต่อเนื่องมากนัก เนื่องจากมีปริมาณเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลง สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และนำเงินไปลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนามาก่อนแล้ว 

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนให้ความคิดเห็นว่า เมื่อสังคมผู้สูงอายุได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับปริมาณเด็กเกิดใหม่ที่ลดลง ตลอดจนผู้คนก็เริ่มครองความเป็นโสดมากยิ่งขึ้น ความต้องการในการซื้อและใช้บริการอสังหาริมทรัพย์ก็จะค่อย ๆ น้อยลงตามไป สำหรับใครที่ต้องการจัดพอร์ตการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ ขอแนะนำให้ติดตามข่าวสารในเรื่องของกฎหมาย นโยบายที่รองรับอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้สูงอายุให้ดี รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

2. ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ

ยิ่งอายุมากขึ้น สุขภาพยิ่งถดถอย โอกาสในการเผชิญหน้ากับโรคร้ายก็สูงมากขึ้นด้วย อีกทั้งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป โรคร้ายใหม่ ๆ ก็ก่อตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้น เทคโนโลยีการแพทย์และการดูแลสุขภาพต่าง ๆ จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในหลากหลายรูปแบบ 

นอกจากนี้ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุยังนำมาซึ่งเทรนด์การลงทุนที่กำลังได้รับความนิยมอย่าง Healthcare Innovation ที่มีทั้งกองทุนกลุ่ม Healthcare และ Health Tech อย่างการพัฒนาวัคซีน เครื่องมือทางการแพทย์ การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ รวมไปถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ยาประเภทต่าง ๆ 

จากรายงานพบว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในกลุ่ม Healthcare นั้นมีการเติบโตสูงถึง 2.9% ในปี 2013 - 2017 และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็น 5.4% ตั้งแต่ปี 2018 - 2022 นอกจากนี้ งบการเงินในบริษัทที่พัฒนา Health Tech และ Healthcare ยังมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตที่มั่นคง และเป็นผลดีกับนักลงทุนที่ต้องการจัดพอร์ตการลงทุนในเทรนด์ขานี้

ข้อควรระวัง

การจัดพอร์ตการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Healthcare และ Health Tech ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพในรูปแบบอื่น ๆ นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงในด้านการเติบโตของตัวบริษัทในอนาคต ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษานวัตกรรมทางการแพทย์จากบริษัทที่สนใจให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนและหุ้น 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังควรศึกษาผลตอบแทนย้อนหลังในระยะยาว ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ อย่างค่าธรรมเนียมและอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อวางแผนบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนร่วมด้วย เนื่องจากการลงทุนในกลุ่ม Healthcare และ Health Tech ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่างประเทศ อีกทั้งยังมาพร้อมกับความเสี่ยงสูงมากอีกด้วย

ข้อควรรู้ก่อนจัดพอร์ตลงทุนในสังคมผู้สูงอายุ

3. ตลาดหุ้นและกองทุน

การลงทุนในยุค Aging Society นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลายจุด เนื่องจากมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก อีกทั้งบริษัทน้อยใหญ่ยังได้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพที่รองรับความต้องการของผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องที่อยู่อาศัย ศูนย์เวชศาตร์ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์รักษาสุขภาพอื่น ๆ และการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องนี้ก็ส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์การลงทุนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น “หุ้น” และ “กองทุน” ที่นักลงทุนยังสามารถเลือกลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้เช่นกัน

แม้ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง แต่อนาคตของสนามการลงทุนอย่าง “หุ้น” ท่ามกลางยุค Aging Society นั้นยังต้องประเมินในหลาย ๆ ด้านร่วมกันไป เช่น นักลงทุนควรประเมินมูลค่าผ่านการพิจารณาจาก Dividend Growth Model ที่จะโฟกัสอยู่ที่ 2 ปัจจัย คือ กระแสเงินปันผล และ อัตราดอกเบี้ยคิดลด (Discount Rate) และหากกระแสเงินปันผลสูง ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ก็แปลว่า ตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ควรค่าแก่การจับตามอง

อย่างไรก็ดี “หุ้น” อาจเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่อาจไม่ตอบโจทย์กับนักลงทุนในวงกว้าง เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลและขั้นตอนการซื้อขายที่ซับซ้อน รวมถึงการคัดเลือกหุ้นทั้งในตลาดไทยและต่างประเทศที่เหมาะสมเข้าพอร์ต เพราะการเข้าถึงข้อมูลที่ลำบาก อีกทั้งหากมีเงินทุนไม่มากเพียงพอก็อาจทำให้ไม่สามารถกระจายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้ 

ด้วยเหตุนี้ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเข้าตลาดลงทุนในช่วง Aging Society นี้ การลงทุนในกองทุนอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์กว่า เนื่องจากสามารถช่วยกระจายความเสี่ยง อีกทั้งยังมีผู้จัดการกองทุน หรือ Fund Manager คอยช่วยบริหาร ทำให้วางแผนสร้างผลตอบแทนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ข้อควรระวัง

ไม่ว่าจะอยู่ในขาธุรกิจใด การจัดพอร์ตการลงทุนในยุค Aging Society ควรหันกลับไปพิจารณาทิศทางเศรษฐกิจแบบภาพรวมร่วมด้วย เพราะหากความต้องการของประชาชนลดลงเนื่องจากมีอัตราเด็กเกิดใหม่น้อยลงเรื่อย ๆ โอกาสที่ธุรกิจจะชะลอการผลิตก็มีสูง ส่งผลให้การลงทุนเกิดการชะลอตัวได้เช่นกัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีผลดีในเรื่องของอัตราคิดลดที่ลดลง และส่งผลด้านบวกกับตลาดหุ้น หรือมีผู้จัดการกองทุนควรช่วยบริหาร แต่หากธุรกิจเกิดการชะลอตัวก็อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงและความผันผวนในตลาดได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ดี การจัดพอร์ตการลงทุนในยุค Aging Society มาพร้อมกับรายละเอียดปลีกย่อย พร้อมแผนการลงทุนที่แตกต่างกันไปตามเป้าหมายทางการเงิน ตลอดจนความเสี่ยงที่รับไหว ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดของตลาดและผลิตภัณฑ์การลงทุนอย่างรอบคอบ แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่าควรจะก้าวไปสู่การลงทุนในยุค Aging Society ดีไหม ที่ปรึกษาทางการเงินคุณวุฒิ CFP® จาก Money Adwise พร้อมช่วยคุณจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน และอนาคตในแบบที่ชีวิตต้องการ นัดปรึกษาครั้งแรกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้