การลงทุนเป็นการใช้เงินหรือทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต โดยการนำเงินไปลงในสินทรัพย์หรือเครื่องมือทางการเงินที่มีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปหรือเงินฝากในธนาคาร การลงทุนสามารถทำได้หลากหลายประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการลงทุนในกองทุนรวม เป้าหมายหลักของการลงทุนคือการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินในระยะยาว โดยมีความคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์นั้น ๆ หรือผ่านการรับดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไรจากการขายในอนาคต อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้บริการจากที่ปรึกษาทางการเงิน หรือเลือกทำความเข้าใจใในสินทรัพย์ก่อนตัดสินใจลงทุน
การลงทุนในทุกประเภทของสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวม ล้วนมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป นักลงทุนที่ดีจึงควรเข้าใจว่าความเสี่ยงในการลงทุนประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง เพื่อจะได้บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ ซึ่งโดยหลักทั่วไป ความเสี่ยงที่สำคัญมีทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้
1.ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) - เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้ราคาของสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวง่าย ๆ คือ หากคุณลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ คุณอาจไม่สามารถขายออกได้ในเวลาที่ต้องการ หรืออาจต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด
2.ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) - ความเสี่ยงประเภทนี้พบมากในกรณีที่นักลงทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือพันธบัตรของต่างประเทศ เพราะการลงทุนดังกล่าวต้องแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นเงินสกุลอื่น ซึ่งมูลค่าของเงินตราเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน
3.ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) - อัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนทุกประเภท เพราะเมื่อธนาคารกลางของประเทศมีการปรับอัตราดอกเบี้ย ก็จะส่งผลต่อการไหลเวียนของเงินทุนในระบบ
4.ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk) - เงินเฟ้อคือภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว ทำให้มูลค่าของเงินลดลง กล่าวคือ เงินจำนวนเท่าเดิมสามารถซื้อสินค้าได้น้อยลง
5.ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk) - เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง เพราะเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจโลก ภัยพิบัติ ภาวะสงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งสามารถทำให้ตลาดทั้งตลาดมีความผันผวนอย่างรวดเร็ว แม้ว่าสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่อาจไม่ได้มีปัญหาโดยตรงก็ตามเช่น หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก นักลงทุนมักจะขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นออกอย่างพร้อมเพรียง ส่งผลให้ราคาหุ้นโดยรวมปรับตัวลดลง
6.ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) - ความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นกับกิจการหรือบริษัทที่นักลงทุนเลือกลงทุนโดยตรง เช่น หากบริษัทนั้นประสบปัญหาด้านยอดขาย การบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพ หรือต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น อาจทำให้ผลกำไรลดลงและกระทบต่อราคาหุ้น
การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ นั้นมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินทรัพย์นั้น ๆ ดังนี้
การบริหารความเสี่ยงการลงทุนถือเป็นทักษะที่สำคัญในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ทั้งหมด แต่การบริหารความเสี่ยงที่ดีสามารถช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงได้ ดังนี้
การลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีระบบจะช่วยให้การลงทุนของคุณ มีโอกาสประสบความสำเร็จและลดโอกาสขาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องการเริ่มต้นลงทุน แต่ไม่แน่ใจว่าจะเลือกสินทรัพย์ประเภทไหนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินของคุณ การใช้บริการจากที่ปรึกษาทางการเงินจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยที่ Money Adwise พร้อมให้บริการคำแนะนำและการวางแผนการลงทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้ ทีมงานของเราพร้อมช่วยให้คุณเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนอย่างลึกซึ้ง และออกแบบกลยุทธ์การลงทุนที่ตอบโจทย์การเติบโตทางการเงินในระยะยาวอย่างปลอดภัย