ในยุคที่การทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระจากรูปแบบงานประจำ หรือมองหาโอกาสในการสร้างรายได้จากทักษะเฉพาะทาง เช่น นักออกแบบกราฟิก นักเขียน นักแปล โปรแกรมเมอร์ หรือแม้แต่นักบัญชีอิสระ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนถือเป็น "ฟรีแลนซ์"
อาชีพฟรีแลนซ์ไม่มีสังกัดองค์กรใด ไม่มีเงินเดือนประจำ ไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนพนักงานประจำ แต่สามารถรับงานได้หลากหลายและกำหนดรายได้ของตนเองได้ตามผลงานและความสามารถ อย่างไรก็ตาม การที่ไม่มีระบบเงินเดือนแบบปกติ ไม่ได้หมายความว่าฟรีแลนซ์จะไม่ต้องเสียภาษี เพราะตามกฎหมายภาษีของประเทศไทยแล้ว หากคุณมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเช่นกัน สำหรับบทความนี้จะมาอธิบายว่าการทำงานฟรีแลนซ์ยื่นภาษีอย่างไร? แล้วอาชีพฟรีแลนซ์เสียภาษีคำนวณจากอะไร? หากใช้บริการจากที่ปรึกษาทางการเงิน จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการยื่นภาษีได้อย่างไร
ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรือที่เราเรียกกันว่า “ฟรีแลนซ์” แม้จะไม่มีนายจ้างประจำหรือไม่ได้รับเงินเดือนแบบพนักงานบริษัท แต่หากมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การทำงานอิสระเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาชีพฟรีแลนซ์ควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาระภาษีของตนอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายในอนาคต
1.รายได้ถึงเกณฑ์ ต้องยื่นภาษี - หากฟรีแลนซ์มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ไม่มีคู่สมรส หรือ 120,000 บาทต่อปี สำหรับผู้มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ จะต้องดำเนินการ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี โดยถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายภาษีอากรของกรมสรรพากร
2.ภาษีคำนวณจาก “รายได้สุทธิ” - การคำนวณภาษีจะไม่ยึดจากรายได้ทั้งหมด แต่จะคำนวณจาก รายได้สุทธิ ซึ่งหมายถึง รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด
3.ใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 ในการยื่นภาษี - สำหรับผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ต้องใช้แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 เพื่อยื่นรายได้ประจำปี เนื่องจากเป็นรายได้ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบพนักงานประจำ กรณีที่มีการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จากลูกค้า ฟรีแลนซ์สามารถนำเอกสารรับรองการหักภาษี (แบบ 50 ทวิ) มาใช้เป็นเครดิตภาษีได้ โดยจะนำไปหักจากยอดภาษีที่ต้องชำระ หรือขอคืนภาษีกรณีที่ถูกหักไว้เกิน
คำถามที่พบบ่อยคือ ฟรีแลนซ์เสียภาษี 2 รอบ จริงหรือ? คำตอบคือ "ใช่" อาชีพฟรีแลนซ์ยื่นภาษีครั้งเดียว แต่ต้องเสียภาษี 2 ครั้ง โดยไม่ใช่การเสียภาษีซ้ำซ้อน แต่เป็นการแบ่งรอบการเสียภาษีเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ คือ ช่วงที่รับรายได้ (โดยมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย) และ ช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเสียภาษีซ้ำซ้อน แต่เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน และจำเป็นต้องเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าอาชีพฟรีแลนซ์จะมีความอิสระในการทำงาน แต่ในเรื่องของการเงินโดยเฉพาะการยื่นภาษีฟรีแลนซ์ ความถูกต้องและครบถ้วนคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะหากเกิดความผิดพลาดจากการการที่เหล่าฟรีแลนซ์ยื่นภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือใช้สิทธิ์ลดหย่อนไม่เต็มที่ อาจนำไปสู่การเสียภาษีเกินความจำเป็น หรือโดนตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย การใช้บริการที่ปรึกษาทางการเงินจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับฟรีแลนซ์ที่ไม่มีเวลาในการจัดการภาษี หรือยังไม่มั่นใจในเรื่องเอกสาร รายได้ ค่าใช้จ่าย และสิทธิ์ลดหย่อนต่าง ๆ ที่ Money Adwise มีบริการวางแผนภาษีสำหรับอาชีพฟรีแลนซ์แบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยจัดเตรียมเอกสารรายรับรายจ่าย จัดหมวดหมู่รายได้เพื่อให้ยื่นได้ถูกประเภท ให้คำแนะนำการใช้สิทธิ์ลดหย่อนให้ได้เต็มสิทธิ์ พร้อมประเมินภาษีล่วงหน้า เพื่อให้คุณสามารถบริหารกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เรายังสามารถช่วยคุณติดตามรอบการยื่นภาษีทั้ง ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 เพื่อให้คุณไม่พลาดกำหนดและไม่ต้องเสี่ยงกับเบี้ยปรับ รวมไปถึงวางแผนการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีผ่าน SSF, RMF หรือประกันชีวิต/สุขภาพอย่างเหมาะสมกับรายได้และความต้องการของคุณในแต่ละปี
ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้นทำงานอิสระ หรือเป็นฟรีแลนซ์ที่มีรายได้หลักแสนหลักล้าน การยื่นภาษีอย่างเป็นระบบ คือรากฐานของความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว และการมีผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจว่าอาชีพฟรีแลนซ์ยื่นภาษีอย่างไร คอยช่วยดูแลจะทำให้คุณสบายใจมากยิ่งขึ้นในทุกช่วงของการยื่นภาษี