วิธีพิจารณาประกันสุขภาพ สร้างความอุ่นใจ ทำได้ด้วยตัวเอง

คู่มือเลือกประกันสุขภาพด้วยตัวเอง

เพราะอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและอาจนำมาซึ่งค่ารักษาพยาบาลจำนวนมหาศาล ยิ่งถ้าหากไม่ได้มีการวางแผนการเงินเอาไว้ อาจกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของคุณได้ ดังนั้น การทำประกันสุขภาพ จึงไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงด้านภาระทางการเงินจากการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญยังจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้อีกด้วย แต่เราควรมีวิธีพิจารณาเลือกประกันสุขภาพอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต บทความนี้มีคำตอบ!

พิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

สิ่งแรกที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อประกันสุขภาพ คือคุณสามารถซื้อประกันได้จากทั้งบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย โดยข้อดีของการซื้อกับบริษัทประกันชีวิต คือ คุณจะได้รับความคุ้มครองระยะยาว โอกาสถูกยกเลิกกรมธรรม์มีน้อย และค่าเบี้ยประกันชีวิตมีอัตราคงที่ ส่วนเบี้ยประกันสุขภาพอาจปรับขึ้นตามช่วงอายุ จึงเหมาะกับผู้ที่อยากวางแผนการเงินและคุ้มครองสุขภาพในระยะยาวไปพร้อม ๆ กัน หรือต้องการสร้างความมั่นคงให้กับคนข้างหลังหากมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อเป็นการวางแผนการเงินและคุ้มครองสุขภาพไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น วิธีพิจารณาประกันสุขภาพก่อนจะเลือกซื้อวิธีแรก คือต้องพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าค่ารักษาพยาบาล ซึ่งรวมถึงค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกรณีเป็นโรคร้ายแรง

หากคุณเป็นโรคร้ายแรง นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การขาดรายได้ ค่าจ้างคนดูแล ค่าใช้จ่ายนอกโรงพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย และค่าอุปกรณ์จำเป็น ที่มีเพิ่มเติมเข้ามา เพราะฉะนั้น ในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ควรมีทั้งวงเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ และค่าชดเชยกรณีเป็นโรคร้ายแรงระยะต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เพื่อเป็นการสร้างประตูฉุกเฉินให้กับตัวเองและครอบครัวในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน

เข้าใจก่อนซื้อ กรณีไหนที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองบ้าง?

แม้ว่าการซื้อประกันสุขภาพจะมีจุดประสงค์หลักเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการเจ็บป่วย แต่ก็มีบางกรณีที่ประกันจะปฏิเสธความคุ้มครองได้ เพราะฉะนั้น หากคุณมีโรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว ควรปรึกษากับตัวแทนก่อนตัดสินใจเลือกประกันสุขภาพ เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องเสียค่าเบี้ยฟรีและมีปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งบริษัทประกันอาจไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีเหล่านี้

  1. โรคประจำตัวที่เป็นมาก่อนทำประกันหรือโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด
  2. โรคทางจิตเวชและสภาวะจิตใจ เช่น โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์
  3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  4. โรคพิษสุราเรื้อรังและโรคที่เกิดจากยาเสพติด
  5. โรคทันตกรรม
  6. โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสายตา
  7. การตั้งครรภ์ คลอดบุตร และแท้งบุตร

นอกจากนี้ ยังมี ระยะเวลารอคอย ที่ประกันสุขภาพยังไม่คุ้มครองแม้ว่าจะทำสัญญาและมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งจะกินเวลา 30 วัน 60 วัน และ 120 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค โดยระยะเวลารอคอยจะเริ่มนับจากวันที่กรมธรรม์อนุมัติ

ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของตัวเอง

สำหรับวิธีพิจารณาความเสี่ยงก่อนทำประกันสุขภาพที่ควรทำในเบื้องต้น ได้แก่

  1. ดูจากประวัติโรคร้ายแรงภายในครอบครัว รวมถึงโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือดไหลไม่หยุด
  2. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น กิจกรรมที่ชอบทำ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความถี่ในการเดินทาง
  3. อาชีพและการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งอาชีพที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษก็มีอยู่หลากหลาย เช่น คนขับรถบรรทุก พนักงานรักษาความปลอดภัย อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย

จะเห็นได้ว่า 3 ข้อข้างต้น คือปัจจัยที่มีบทบาทกับสุขภาพของคุณไม่น้อย ดังนั้น เราควรที่จะประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของตัวเองก่อน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีพิจารณาก่อนการซื้อประกันสุขภาพที่ควรทำ เพื่อให้ได้ประกันที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคุณที่สุด


พิจารณาจากเบี้ยประกันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เบี้ยประกัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญของวิธีพิจารณาประกันสุขภาพ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี จึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับรายได้และและเป้าหมายการเงินอื่น ๆ เพื่อให้คุณบริหารงบประมาณได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับมีแผนการเงินที่สมดุลในทุก ๆ ด้าน โดยเบี้ยประกันไม่ควรเกิน 10-20% ของรายได้ทั้งหมด เพื่อให้คุณบริหารจัดการรายได้อย่างไม่สะดุด เช่น มีรายได้เดือนละ 50,000 บาท เท่ากับปีละ 600,000 บาท ค่าเบี้ยประกันก็ไม่ควรเกินปีละ 60,000 บาท เป็นต้น

ทั้งนี้ ประกันสุขภาพบางแผน อาจมีค่ารับผิดส่วนแรก (Deductible) ที่คุณต้องจ่ายเองก่อนส่วนหนึ่ง หากค่ารักษาพยาบาลเกินจากที่กำหนดไว้ บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป ซึ่งประกันสุขภาพที่มีค่ารับผิดส่วนแรกจะมีค่าเบี้ยที่ถูกกว่าประกันสุขภาพที่ไม่มี

ตรวจสอบความคุ้มครองในกรมธรรม์อย่างละเอียด

หัวใจสำคัญของการทำประกันสุขภาพ คือความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ซึ่งแนะนำว่าควรตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังควรใช้วิธีพิจารณาประกันสุขภาพจากความคุ้มครองในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  1. ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
  2. ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน
  3. ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าตรวจวินิจฉัย
  4. ค่าห้องพัก ค่าอาหาร และค่าบริการอื่น ๆ
  5. ค่ายากลับบ้าน
  6. ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน
  7. ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต

วางแผนการเงินล่วงหน้าก่อนซื้อประกันสุขภาพ

รู้วิธีพิจารณาประกันสุขภาพแล้ว อย่าลืมวางแผนการเงินล่วงหน้า ทั้งการวางแผนการเงินเพื่อจ่ายเบี้ยประกัน และการวางแผนลดหย่อนภาษี ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 100,000 บาท และเบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 25,000 บาท และรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าการซื้อประกันสุขภาพถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในการวางแผนการเงิน ทั้งยังช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องค่าใช้จ่าย สร้างความอุ่นใจให้ทุกจังหวะชีวิต หากต้องการเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับหน้าที่การงาน ภาระทางการเงิน ตลอดจนเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ที่ Money Adwise เรารับวางแผนการซื้อประกันสุขภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประกันภัย และนักวางแผนทางการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP® ช่วยคุณเลือกประกันสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินและวิถีชีวิตด้วยความเข้าใจ นำไปสู่ความคุ้มครองและการรับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า ช่วยบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นัดปรึกษาครั้งแรกฟรี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้